วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สวยจริงๆ..

งามเเต้..เจ๊า

วันพุธที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

หายป่วยหรือยัง

อาการดีขึ้นแล้ว..สินะ วันเสาร์ มาเรียนได้รือเปล่า..น้องเอ๋

วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

มาดูเรื่องแปลกๆ..ที่อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์

กาฬสินธุ์ฮือฮา! พบท่อนไม้ยักษ์อายุพันปี



กาฬสินธุ์ - ชาวบ้านอำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ แห่กราบไหว้และทำพิธีขอเลขเด็ดกับท่อนไม้ยักษ์ขนาด 5 คนโอบ อายุพันปี หลังใช้รถแบ็กโฮขุดลอกปรับปรุงเป็นบ่อน้ำสำหรับอุปโภค กลับเจอฝังลึกอยู่ในพื้นดินกว่า 15 เมตร ต่างเชื่อเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ให้โชคลาภ ขณะที่ทางวัดเตรียมเก็บรักษาเป็นสาธารณะสมบัติ ให้ผู้คนกราบไหว้ขอความเป็นสิริมงคล วันนี้ (24 ก.พ.) ที่บริเวณหลังวัดโพธิ์โนนสว่าง บ้านโนนสว่าง หมู่ 5 ต.หลักเมือง อ.กมลาไสย จ.กาฬสินธุ์ ได้มีประชาชนจากทั่วสารทิศจำนวนมาก หลั่งไหลไปกราบไหว้ท่อนไม้ยักษ์ขนาด 5 คนโอบ ที่คาดว่ามีอายุนับพันปี โดยพบฝังลึกลงไปในพื้นดินกลางหนองน้ำประมาณ 15 เมตร จึงต่างมีความเชื่อว่าเป็นต้นไม้ศักดิ์สิทธิ์ และจะนำโชคลาภมาให้บุคคลที่สักการะกราบไหว้ พระครูประโชติโพธิวัฒน์ เจ้าอาวาสวัดโพธิ์โนนสว่างกล่าวว่า ก่อนที่จะพบท่อนไม้ขนากยักษ์ท่อนนี้สาเหตุทางวัดและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้รับงบประมาณจากทางราชการ สำหรับขุดลอกหนองบุ่ง พื้นที่ประมาณ 7 ไร่ ที่เป็นหนองน้ำสาธารณะบริเวณหลังวัดฯ ทั้งนี้ เพื่อที่จะเป็นแหล่งกักเก็บน้ำสำหรับการใช้สอยของชาวบ้านและให้สัตว์เลี้ยง กิน เพื่อแก้ไขปัญหาขาดแคลนน้ำในฤดูแล้ง โดยพื้นที่บริเวณนี้เป็นที่ลุ่มที่ชาวบ้านเรียกว่าหนองบุ่ง มีต้นไม้เบญจพรรณชนิดต่างๆ เกิดขึ้นมากมาย แต่ไม่เคยมีร่องรอยหรือปรากฎว่าเคยมีต้นไม้ขนาดใหญ่ในบริเวณนี้ โดยหนองบุ่งเคยทำการขุดลอกครั้งหลังสุดประมาณ 30 ปีที่
หัวข้อ : กาฬสินธุ์ฮือฮา! พบท่อนไม้ยักษ์อายุพันปี






ผมนนท์บ้านโนน
สวางหลานแม่ทองใบ?
ผ ม ห ลา น เ เ ม่ ท อ ง ใ บ บ้า น โ น น ส วา ง
วันนี้ผมจะมากล่าวเรื่องต้นไม้โบราณ
แตกตื่นต้นไม้ใหญ่โบราณชาวบ้านโนนสวาง ตำบลหลักเมือง อำเภอกมลาไสย และชาวบ้านทั้งใกล้และไกลแห่กันมาชมต้นไม้ใหญ่โบราณไม่ขาดสาย โดยเฉพาะในวันที่ 30 มีนาคม 2553 ซึ่งตรงกับวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ซึ่งเป็นวันที่กำหนดเป็นฤกษ์ดีที่กรรมการหมู่บ้านและผู้นำชุมชน ผู้นำทางศาสนา กำหนดเอาต้นไม้ขึ้นมาตั้งแสดงให้คนทั่วไปได้เห็นจากข่าวการได้ขุดพบต้นไม้ใหญ่ใต้ดิน โดยการขุดบ่อเพื่อเป็นสระน้ำอเนกประสงค์ในบริเวณวัดบ้านโนนสวางซึ่งอยู่ในเขตใกล้ริมฟังลำน้ำปาวตั้งแต่ต้นเดือนกุมภาพันธ์ 2553 เป็นต้นมา โดยได้รับงบประมาณจากกรมทรัพยากรธรณี ในพื้นที่กว้าง 100 ม. ยาว 100 ม. ลึกประมาณ 4 ม. ในขณะที่ขุดลงไปที่ความลึกเกือบ 4 ม.นั้นได้พบกับท่อนไม้ใหญ่ไม่ทราบขนาดท่อนหนึ่งจึงพักการขุดไว้ระยะหนึ่งในช่วงที่หยุดพักการขุดอยู่นั้น คนขับรถขุดดินได้บอกกับชาวบ้าน คณะกรรมการวัดที่เฝ้าดูการขุดดินว่าตนเองได้ฝันเห็นคนผู้หญิงโบราณคนหนึ่งมาบอกว่าตนเองถูกฝังอยู่ใต้ดินบริเวณที่กำลังขุดอยู่นี้เป็นเวลาหลายร้อยปีแล้ว อยากขึ้นมาจากใต้ดิน ให้ช่วยกันเอาขึ้นมาด้วย ตนเองก็เลยไม่กล้าขุดต่อ จึงบอกคณะกรรมการหมู่บ้านและคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านมาตั้งศาลบอกกล่าวให้ด้วย ซึ่งตนก็คิดว่าคงเป็นเจ้าที่เจ้าทางตามความเชื่อของคนโบราณจากข่าวที่บอกไปนั้นได้แพร่กระจายออกไปทำให้มีผู้สนใจมาร่วมดูการขุดดินในบริเวณดังกล่าวแทบทุกวัน แล้วคณะกรรมการก็ตกลงจัดตั้งศาลบอกกล่าวเจ้าที่เจ้าทางให้ การดำเนินการขุดบ่อดินตรงนั้นจึงได้ดำเนินการต่อไปอีกครั้ง หลังจากการขุดในครั้งนี้ดำเนินการไปประมาณ 2 วันชาวบ้านก็ตะลึงเมื่อได้พบกับต้นไม้ขนาดใหญ่จมอยู่ใต้ดินบริเวณนั้น ซึ่งอยู่ในสภาพโค่นล้มทั้งรากนอนขนานอยู่กับพื้น มีขนาดใหญ่และยาวมาก คนขับรถขุดดินจึงขุดคุ้ยดินบริเวณรอบ ๆ ออก สร้างความแตกตื่นให้กับผู้คนใกล้เคียงและกระจายไปถึงต่างถิ่นแห่กันมาดู ประมาณการคร่าว ๆ ว่า ยาวไม่น้อยกว่า 40 ฟุต เส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 3 คนโอบ หรือ มากกว่า 600 เซนติเมตร กรรมการและผู้นำชุมชนได้ประชุมกันกำหนดฤกษ์ว่าให้รถจักรต่าง ๆ มาทำการยกต้นไม้นี้ขึ้นในวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ตรงกับวันเสาร์ แรม 14 ค่ำ เดือน 4 ซึ่งเป็นวันพระ (ดับเดือน4) แต่วันนั้นทั้งวันในการใช้รถขุดแบ๊กโฮ รถลากซุง ทำการขุดลากขึ้นอย่างไรก็ไม่สำเร็จ ท่ามกลางผู้คนที่แวะวนมาดูและมาจุดธูปลูบแป้งเสี่ยงโชคไม่ขาดสาย จนสาย ๆ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ จึงสามารถนำต้นไม้นั้นขึ้นมาได้ ในสภาพที่ติดรากมาด้วยส่วนหนึ่ง ส่วนกิ่งก้านด้านปลายแตกหักหมดไม่เหลือกิ่งติดมา การขุดพบครั้งนี้มีผู้คนสนใจเป็นอย่างมาก เพราะไม่เคยมีใครที่กล่าวถึงเรื่องราวว่าเคยพบต้นไม้ใหญ่อยู่บริเวณนี้เลย รวมทั้งผู้คนที่เชื่อในสิ่งลี้ลับ ความศักดิ์สิทธิ์ทั้งเรื่องเจ้าที่เจ้าทาง เทพดาหรือดวงวิญญาณว่าต้องมีภูตผี วิญญาณ หรือเทวดาเฝ้ารักษาอยู่ต่างก็มาจุดธูป ลูบแป้งหาเลขเด็ดไปแทงหวยได้หลายตัวแตกต่างกันไป บังเอิญว่าในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2553 เลขท้าย 3 ตัวของรางวัลที่ 1 ออกมา 222 ตรงกับเลขท้ายทะเบียนรถเครน ที่ลากต้นไม้ต้นนี้ขึ้นจากบ่อดินด้วย ทำให้มีคนถูกหวย(ใต้ดิน)มากพอสมควร ข่าวความศักดิ์สิทธิ์จึงได้แพร่กระจายไปแบบปากต่อปาก ไม่มีเขตจำกัด มีคนสนใจจำนวนมาก รวมทั้งเจ้าเข้าทรงได้มาเข้าทรงชี้นำคนกราบไว้และใบ้หวย ทั้งยังได้บอกว่าดวงวิญญาณหรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณนี้ยังขึ้นมาไม่หมดขอให้เอาขึ้นมาให้หมดด้วย จากนั้นทีมขุดค้นดินก็ขุดค้นในบริเวณเขตที่กำหนดในการขุดบ่อดินนั้นต่อไปและได้พบกับต้นไม้ใหญ่อีกสองต้น ความยาวใกล้เคียงกันแต่มีขนาดเล็กว่าต้นแรก คาดว่าคงมีอายุหลังจากโค่นล้มมาแล้วเท่า ๆ กับต้นแรก ซึ่งได้ฤกษ์นำขึ้นมา ในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5 ในวันที่ 30 กุมภาพันธ์ 2553 ที่ผ่านมา และนำขึ้นมาได้สำเร็จเสร็จสิ้น ในเวลาประมาณ 19.00 น. มีผู้คนสนใจเข้ามาดูและกราบไหว้จนแน่นขนัดบริเวณวัดไปหมดเกือบพันคนตามภาพจากการสัมภาษณ์คุณตาไตร แก่นแสนดี อายุ 82 ปี ผู้ซึ่งมีที่ดินติดกับวัดบริเวณขุดบ่อดินแห่งนี้ ทั้งเป็นผู้ได้บริจาคดินในบริเวณที่ติดกับที่ขุดบ่อให้กับทางวัดด้วย ท่านบอกว่า จากการที่ได้รู้จักคนเฒ่าคนแก่ในหมู่บ้านมานาน ทั้งยังมีชีวิตอยู่(อายุกว่า 90 ปี )และที่เคยเสียชีวิตไปแล้วก็ตาม ถ้านับอายุท่านเหล่านั้นมาถึง ณ ปัจจุบันก็เกือบ 200 ปีแล้ว ที่ผ่านมาไม่เคยได้รับคำบอกเล่ามาเลยว่าบริเวณดังกล่าวนั้นเคยเป็นอะไรมาก่อนและไม่เคยกล่าวถึงว่ามีต้นไม้ใหญ่ในนั้นหรือไม่ จึงคาดคะเนว่า ในที่ดังกล่าวแต่ก่อนไม่ต่ำกว่า 200 ปี ก่อนนี้คงเป็นป่าที่อุดมสมบูรณ์
มีต้นไม้ใหญ่มากมายและเป็นขอบตลิ่งริมฝั่งแม่น้ำปาว ซึ่งเป็นจุดที่แม่น้ำปาวเปลี่ยนทิศทาง ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นวังน้ำวน กัดเซาะตลิ่งและต้นไม้โค่นล้มลง หลายร้อยปีผ่านไป แม่น้ำปาวเปลี่ยนทิศทาง ทำให้บริเวณดังกล่าวเกิดเป็นที่ดอน จากการพัดพาเอาดินและโคลนต่าง ๆ มาในฤดูน้ำหลาก แล้วถูกขอนไม้เหล่านี้กักกันไว้ เมื่อนำลงลงมีต้นไม้และพืชชนิดต่าง ๆ เกิดขึ้นปกคลุมแทนที่ซึ่งมีต้นไม้ใหญ่คำนวณตามขนาดและวงปีของต้นไม้ที่อยู่บนชั้นดินปัจจุบันดังที่เห็นก่อนที่จะมีการขุดบ่อในปัจจุบันที่ตัดโค่นออก ก็น่าจะไม่ต่ำกว่า 100 ปี ซึ่งก็น่าจะเป็นไปได้ เพราะบริเวณดังกล่าวอยู่ห่างกับฝั่งแม่น้ำปาวในปัจจุบันประมาณไม่ถึง 100 ม. แค่นั้น สรุปแล้วต้นไม้ทั้งสามต้นอยู่ในลักษณะโค่นล้มไขว้กันแต่มีทิศทางของด้านปลายหันไปทิศทางเดียวกัน บริเวณท่อนปลายขาดหายมีรอยคล้ายไฟไหม้ไม่มีกิ่งติดลำต้นมา และพบเศษส่วนของกิ่งก้านหลงเหลืออยู่ในบริเวณที่ขุดค้นพบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น อยู่ลึกใต้ดินที่ทับถมหนาประมาณ 4 เมตร มีต้นไม้ใหญ่ขึ้นปกคลุมอยู่ด้านบนซึ่งมีอายุประมาณกว่า 100 ปี และย้อนหลังไปกว่าร้อยปี ไม่เคยได้ยินข่าวบอกเล่าใด ๆ จึงสันนิษฐานว่า ต้นไม้ทั้งสามต้นโดยเฉพาะต้นใหญ่มีเส้นรอบวงไม่ต่ำกว่า 600 เซนติเมตร (น่าจะมีอายุตั้งแต่เกิดถึงโค่นล้มไม่ต่ำกว่า 600 ปี รวมอายุต้นไม้ต้นนี้ ตั้งแต่เกิดถึงโค่นล้มและนับรวมหลังจากโค่นล้มถึงการขุดพบในปัจจุบันน่าจะเกือบ1,000 ปีได้ ) ตั้งอยู่ไกลตลิ่งกว่า ส่วนสองต้นเส้น รอบวงประมาณ 300 ถึง 400 เซนติเมตร อายุก็คงลดหลั่นกันไป หรือเป็นต้นไม้ลูกของต้นใหญ่ นี้เกิดอยู่ริมฝั่งแม่น้ำปาวอยู่ใกล้ตลิ่งกว่า บริเวณนี้น้ำปาวคดโค้งและเปลี่ยนทิศทาง ทำให้เกิดวังน้ำวนต่อมาน้ำกัดเซาะตะลิ่ง ส่งผลไห้ต้นไม้ใหญ่ทั้งสามต้นโค่นล้มลง โดยต้นเล็กทั้งสองต้นโค่นลงก่อน ต่อมาต้นใหญ๋จึงได้โค่นตาและทับอยู่บนสองต้นเล็กนั้นแต่อยู่ในระยะเวลาที่ใกล้เคียงกัน ส่วนปลายของต้นไม้ทั้งสามซึ่งยาวกว่า 40 ฟุต ล้มไปฟาดกับตลิ่งอีกฝั่งหนึ่ง ทำให้ท่อนปลายส่วนที่เป็นกิ่งก้านสาขาแตกหักอยู่บนตลิ่งฝั่งนั้นและถูกไฟเผาไหม้ในเวลาต่อมาจนเหลือซากอยู่เพียงเล็กน้อย ส่วนท่อนไม้ทั้งสามที่เหลือซึ่งล้มพาดบริเวณน้ำเซาะตลิ่งไปในทิศทางเดียวกันจมลงไปในน้ำและขวางทางน้ำที่กัดเซาะตลิ่ง กลายเป็นแนวกันน้ำที่ไหล วนมา ทำให้กั้นเอาดินหินทรายที่น้ำพัดพามาในเวลาน้ำหลากมาไว้รวมกันเกิดเป็นสันดินกั้นทางเดินของน้ำไว้และสูงขึ้นเรื่อย ๆ ทำให้น้ำเริ่มเปลี่ยนทิศทาง ดินและโคลนได้ทับถมต้นไม้ทั้งสามจนเต็มคุ้งน้ำซึ่งลึกกว่า 4 เมตร ทำให้น้ำแห้งหายไปเมื่อถึงฤดูนำลด หลายร้อยปีผ่านไปนำท่วมนำหลากไม่ถึงทำให้ดินตรงนั้นเป็นที่ดอน แล้วเกิดต้นไม้พืชพรรณปกคลุมแทนที่อยู่มาหลายร้อยปีก่อนมีการขุดค้นพบอย่างที่เห็นในปัจจุบัน ซึ่งต้นไม้มีแกนเนื้อไม้ที่มีความแข็งแรงอยู่มากโดยเฉพาะต้นใหญ่ แม้ว่ารอบ ๆ ต้นด้านนอกจะเน่าผุไปตามสภาพและอายุบ้างแล้วก็ตาม ทำให้ชาวบ้านที่เห็นต้นไม้ต้นแรกที่นำขึ้นมานั้นเชื่อว่าเป็นไม้ตะเคียน แต่ผู้เขียนพิจารณาจากลักษณะของต้นไม้ทั้งสามต้นแล้วพบว่าลายเส้นเนื้อไม้มีเส้นที่หยาบใหญ่กว่าไม้ตะเคียนจึงน่าจะเป็นไม้ที่มีเนื้ออ่อนกว่าไม้ตะเคียนซึ่งอยู่ในกลุ่มต้นไม้ที่มีขนาดใหญ่จำนวนไม่กี่ประเภท เช่นกะบาก หรือยางนา เป็นต้น แต่ที่สำคัญสามารถได้กลิ่นของน้ำมันซึ่งเป็นกลิ่นของไม้ตะกูลยางนาจากไม้ต้นใหญ่ได้ รวมทั้งบริเวณใกล้เคียงริมฝั่งแม่น้ำปาวแห่งนี้เป็นแหล่งของไม้ยางนาที่เคยอุดมสมบูรณ์มาก่อน ซึ่งสองต้นสุดท้ายที่ปรากฏอยู่ริมฝั่งน้ำปาวข้างวัดชัยมงคล ในเขตเทศบาลกมลาไสย มีขนาดใกล้เคียงกับต้นไม้เล็กทั้งสองต้นนี้ ซึ่งถูกตัดโค่นไปแล้วเมื่อสองปีที่ผ่านมา คาดว่าคงตัดเพื่อไม่ให้กีดขวางทางที่นำเรือยาวขนาดใหญ่ลงน้ำเพื่อแข่งขันในงานประจำปีแข่งเรือยาวของทางอำเภอ ผู้เขียนจึงสันนิษฐานว่า ไม้โบราณทั้งสามต้นที่พบเห็นในครั้งนี้ ควรเป็นไม้ยางนาสำหรับท่านที่สนใจอยากไปเยี่ยมชมต้นไม้โบราณทั้งสามต้นนี้สามารถไปแวะชมได้ที่วัดบ้านโนนสวาง ตำบลหลักเมือง(อยู่ในเขตเทศบาลกมลาไสย)อำเภอกมลาไสย จังหวัดกาฬสินธุ์ได้ทุกเวลา โดยคณะกรรมการหมู่บ้านได้เปิดให้ผู้สนใจเข้าชมและได้ตั้งตู้บริจาคเพื่อสมทบทุนในการจัดทำแท่นวางไม้ทั้งสามต้นและเป็นปัจจัยในการบำรุงรักษาเนื้อไม้ตามจำเป็นต่อไป สำหรับท่านที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถเดินทางตามเส้นทางกาฬสินธุ์-ร้อยเอ็ด ระยะทางจากตัวเมืองกาฬสินธุ์ประมาณ 12 กิโลเมตร ถึงอำเภอกมลาไสยให้เลี้ยวซ้ายบริเวณสี่แยกป้อมยามตำรวจกมลาไสย ส่วนท่านที่เดินทางมาตามเส้นทางร้อยเอ็ด-กาฬสินธุ์ ระยะทางจากร้อยเอ็ดประมาณ 38 กม.ถึงป้อมยามตำรวจแล้วเลี้ยวขวา(ใกล้ ๆ กึ่งกลางเมืองกมลาไสย) ผ่านวัดแพงศรี(มีพระยืน)แล้วไปตามเส้นทางบ้านบึงไฮประมาณ 1 กม.แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าบ้านโนนสวาง (ยังไม่ถึงงบ้านบึงไฮ) แล้วถามหาที่ตั้งของวัดและต้นไม้โบราณนี้ไม่ยากครับ ขอให้โชคดีครับ

กินวิตามินเสริม จำเป็นหรือไม่ ?สำหรับชีวิต




“กินวิตามินเสริม” จำเป็นหรือไม่...สำหรับชีวิต
Vitamin ประกอบด้วย 2 คำ คือ Vita และ AminVita หมายถึง ชีวิต และ Amin หมายถึง สารอินทรีย์ รวมกันเป็นคำว่า “Vitamin” หนึ่งในอาหารหลัก 5 หมู่ ที่มีความจำเป็นต่อกระบวนการต่างๆ ของร่างกาย เช่น การหายใจของเซลล์ การสร้างกระดูและเมล็ดเลือดแดง การแข็งตัวของเลือด การมองเห็น และการทำงานของระบบประสาท เป็นต้นการรับประทานอาหารในแต่ละวัน หากรับประทานได้ครบทั้ง 5 หมู่ และในปริมาณที่พอเหมาะ ร่างกายก็น่าจะได้รับวิตามินในปริมาณที่เพียงพอแล้ว ซึ่งหากเรารับประทาน “วิตามินเสริม” และได้รับมากเกินความพอดี อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพได้ เราจึงควร “ทำความเข้าใจ” อย่างถูกต้อง เพื่อให้ “พอดี” กับความต้องการของร่างกายจริงๆ ตัวอย่างเช่น“วิตามิน C” ที่ช่วยเสริมภูมิต้านทานและต้านอนุมูลอิสระ ปริมาณที่เหมาะสมต่อร่างกายคือวันละประมาณ 60-500 มิลลิกรัม หากได้รับเกินความต้องการ อาจรบกวนการดูดซึมแร่ธาตุของร่างกาย อาทิ ทองแดง ซีลีเนียม และอาจสะสมจนเกิดโรคนิ่วได้“น้ำมันปลา” หรือ “โอเมก้า 3” เป็นกรดไขมันจำเป็นที่ร่างกายสร้างเองไม่ได้ และจำเป็นต้องได้รับจากอาหาร กรดไขมันโอเมก้า 3 ที่สำคัญ มี 2 ชนิด ได้แก่ DHA (DOCOSAHEXAENOIC ACID) และ EPA (EICCOSAPENTAENOIC ACID) พบได้ในน้ำมันจากปลาทะเลน้ำลึก ซึ่งจะมีไขมันที่เรียกว่า FISH OIL หรือน้ำมันปลา (มิใช่น้ำมันตับปลา) ได้แก่ ปลาซลมอน ปลาซาร์ดีน ความสำคัญของกรดไขมันไอเมก้า 3 ชนิด DHA มีผลต่อการเจริญเติบโตของสมองและจองประสาทตา ส่วนกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิด EPA จะช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้ โดยลดการเกาะตัวของเกล็ดเลือดและลดการหดตัวของหลอดเลือด ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันได้ยากขึ้น โดยในแต่ละวันควรได้รับปริมาณ 1,000 มิลลิกรัม ต่อเนื่องตลอด 3 เดือน และหยุดพัก 1 เดือน แล้วจึงกลับมากินต่อ เพื่อให้ร่างกายกำจัดสารตกค้างที่เกิดจากการบริโภคติดต่อกันนานๆ ซึ่งปริมาณเหล่านี้ อาจลดหรือเพิ่มได้ตามคำแนะนำของแพทย์ โดยเฉพาะผู้ที่ป่วยเป็นโรคเบาหวานและผู้ที่มีความเสี่ยงต่อภาวะเลือดออกไม่หยุด สำหรับ “วิตามินรวม” มีผลงานวิจัยของ ดร.วิกตอเรีย ไมเซส จาก Tuscan-Base Arizona Center for Integrative Medicine ระบุว่า “หากรับประทานอาหารทุกอย่างเพียงพออยู่แล้ว การกิน “วิตามินรวม” อาจไม่ได้ประโยชน์อะไรเต็มเม็ดเต็มหน่วยนัก ทางที่ดีจึงควรกินวิตามินที่แยกเฉพาะอย่างจะได้คุณค่าที่มากกว่า”อย่างไรก็ตาม การรับประทาน “วิตามิน” ควรปรึกษาแพทย์เพื่อรับคำแนะนำถึงความเหมาะสมและความจำเป็นของร่างกาย และที่สำคัญคือ “การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ในครบ 5 หมู่ และออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ” เพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของร่างกาย... ให้อยู่กับเราตลอดไป

กินเนยทำให้หลับสนิทได้จริงหรือ?

การกินเนย ทำให้หลับสนิทได้จริงหรือ

การกินเนยทำให้หลับสนิทได้จริงหรือ (Slimup)การกินเนยก่อนนอนอาจช่วยให้คุณนอนหลับได้ง่ายขึ้น เนื่องจากเนยมีส่วนประกอบของสาร "ทริปโตแฟน" ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารสื่อประสาทที่ช่วยในการนอน สารตัวเดียวกันนี้ยังพบไดใน "กล้วยน้ำว้า" ที่ทำให้เราเลี่ยงกับโรคไขมันในเลือดสูง น้อยกว่าการบริโภคเนยราคาก็ถูกกว่าด้วยเมื่อคุณเริ่มนอนแล้วก็จะเข้าสู่ขั้นตอนการนอนได้ตามธรรมชาติ แต่ทั้งนี้การทานอาหารก่อนนอน ไม่ควรเกิดขึ้นก่อนการเข้านอนน้อยกว่า 2 ชั่วโมง เพื่ออาหารจะได้ย่อย และไม่ทำให้ท้องอืดเวลานอนนะคะ

วันเสาร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

พุทธศาสนาในประเทศไทย


พุทธศาสนาในประเทศไทย
จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา
ส่วนหนึ่งของพุทธศาสนาสถานีย่อย
ประวัติพุทธศาสนา
ศาสดา
พระโคตมพุทธเจ้า(พระพุทธเจ้า)
จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์
พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)สมถะ · วิปัสสนาบทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎกพระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์บัญญัติ · ขันธ์ · ปรมัตถธรรม
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนาหมวดหมู่พุทธศาสนา
พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่ดินแดนที่เป็นประเทศไทยในปัจจุบัน เมื่อประมาณ พ.ศ. 236 สมัยเดียวกันกับประเทศศรีลังกา ด้วยการส่งพระสมณทูตไปเผยแผ่พระพุทธศาสนาในประเทศต่างๆ 9 สาย โดยการอุปถัมภ์ของพระเจ้าอโศกมหาราช กษัตริย์อินเดีย ในขณะนั้นประเทศไทยรวมอยู่ในดินแดนที่เรียกว่าสุวรรณภูมิ ซึ่งมีขอบเขตกว้างขวาง มีประเทศรวมกันอยู่ในดินแดนส่วนนี้ทั้ง 7 ประเทศในปัจจุบัน ได้แก่ ไทย พม่า ศรีลังกา ญวน กัมพูชา ลาว มาเลเซีย ซึ่งสันนิษฐานว่ามีใจกลางอยู่ที่จังหวัดนครปฐมของไทย เนื่องจากได้พบโบราณวัตถุที่สำคัญ เช่นพระปฐมเจดีย์ และรูปธรรมจักรกวางหมอบเป็นหลักฐานสำคัญ แต่พม่าก็สันนิษฐานว่ามีในกลางอยู่ที่เมืองสะเทิม ภาคใต้ของพม่า พระพุทธศาสนาเข้ามาสู่สุวรรณภูมิในยุคนี้ นำโดยพระโสณะและพระอุตตระ พระเถระชาวอินเดีย เดินทางมาเผยแผ่พุทธศาสนาในแถบนี้ จนเจริญรุ่งเรืองมาตามลำดับ ตามยุคสมัยต่อไปนี้
เนื้อหา[ซ่อน]
1 สมัยทวาราวดี
2 สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
3 สมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13)
4 สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 15)
5 สมัยเถรวาทแบบพุกาม
6 สมัยกรุงสุโขทัย
7 สมัยล้านนา
8 สมัยกรุงศรีอยุธยา
8.1 สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031)
8.2 สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2034 - 2173)
8.3 สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2310)
8.4 สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310)
9 สมัยกรุงธนบุรี
10 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
10.1 รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352)
10.2 รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - 2367)
10.3 รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2354)
10.4 รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 -2411)
10.5 รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
10.6 รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 -2468)
10.7 รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)
10.8 รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)
10.9 สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)
11 ดูเพิ่ม
12 อ้างอิง
13 แหล่งข้อมูลอื่น
//
[แก้] สมัยทวาราวดี

พระปฐมเจดีย์ สร้างขึ้นเมื่อคราวที่พระสมณทูตในพระเจ้าอโศกมหาราช เดินทางมาเผยแผ่ศาสนายังสุวรรณภูมิ
พระโสณะและพระอุตตระได้เดินทางจากแคว้นมคธ เข้ามาประดิษฐานพระพุทธศาสนา ณ ดินแดนสุวรรณภูมิ โดยมีข้อสันนิษฐานว่า น่าจะมีศูนย์กลางอยู่บริเวณตอนกลางของไทยในปัจจุบัน โดยพิจารณาจากโบราณสถานและโบราณวัตถุต่าง ๆ เช่น พระปฐมเจดีย์ศิลารูปพระธรรมจักร เป็นต้น
พระพุทธศาสนาที่เข้ามาในสมัยนี้ เป็นนิกายเถรวาทดั้งเดิม โดยพุทธศาสนิกชนมีความศรัทธาเลื่อมใสบวชเป็นพระภิกษุจำนวนมาก และได้สร้างสถูปเจดีย์ไว้สักการะบูชา เรียกว่า สถูปรูปฟองน้ำ เหมือนสถูปสาญจีในประเทศอินเดียที่พระเจ้าอโศกมหาราชทรงสร้างขึ้น โดยศิลปะในยุคนี้ เรียกว่า ศิลปะทวารวดี
[แก้] สมัยอาณาจักรอ้ายลาว
สมัยอาณาจักรอ้ายลาว ซึ่งเป็นอาณาจักรของบรรพบุรุษชาวไทยที่อาศัยอยู่บริเวณลุ่มน้ำแยงซีเกียง ซึ่งปัจจุบันอยู่ภายใต้การยึดครองของชาวจีนฮั่น พระพุทธศาสนาในยุคนี้คาดว่าเป็นแบบมหายาน ในสมัยขุนหลวงม้าว กษัตริย์ที่ทรงครองราชย์อยู่ในอาณาจักรอ้ายลาว ก่อนที่จะอพยพเข้ามาสู่ดินแดนประเทศไทยในปัจจุบัน ได้รับเอาพระพุทธศาสนามหายาน โดยการนำของพระสมณทูตชาวอินเดียมาเผยแผ่ ในคราวที่พระเจ้ากนิษกะมหาราชทรงอุปถัมภ์การสังคายนาครั้งที่ 4 ของฝ่ายมหายาน ณ เมืองชลันธร พระสมณทูตได้เข้ามาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเอเชียกลาง ทำให้หัวเมืองไทยทั้ง 77 มีราษฎร 51,890 ครอบครัว เปลี่ยนมานับถือพระพุทธศาสนาแบบมหายานแทนเถรวาท
[แก้] สมัยอาณาจักรศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13)
อาณาจักรศรีวิชัยในเกาะสุมาตราเจริญรุ่งเรืองในช่วงพุทธศตวรรษที่ 12-13กษัตริย์ศรีวิชัยทรงมีพระราชศรัทธาในพุทธศาสนาอย่างแน่นแฟ้น ดังหลักฐานที่ปรากฏ ได้แก่ เจดีย์พระบรมธาตุไชยา เจดีย์โบโรพุทโธ รูปหล่อพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร รวมถึงหลักฐานทางโบราณคดีอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากซึ่งพบกระจายอยู่ทั่วไปในดินแดนสุวรรณภูมิ
[แก้] สมัยลพบุรี (พุทธศตวรรษที่ 15)

พระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรี
ในสมัยกษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมันเรืองอำนาจนั้น ได้แผ่อาณาเขตขยายออกมาทั่วภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลางของประเทศไทย ในราว พ.ศ. 1540 และได้ตั้งราชธานีเป็นที่อำนวยการปกครองเมืองต่าง ๆ ในดินแดนดังกล่าวขึ้นหลายแห่ง เช่น
เมืองลพบุรี ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างใต้
เมืองสุโขทัย ปกครองเมืองที่อยู่ในอาณาเขตทวารวดี ส่วนข้างเหนือ
เมืองศรีเทพ ปกครองหัวเมืองที่อยู่ตามลุ่มแม่น้ำป่าสัก
เมืองพิมาย ปกครองเมืองที่อยู่ในที่ราบสูงตอนข้างเหนือ
เมืองต่าง ๆ ที่ตั้งขึ้นนี้เมืองลพบุรีหรือละโว้ ถือว่าเป็นเมืองสำคัญที่สุด กษัตริย์กัมพูชาราชวงศ์สุริยวรมัน ทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ซึ่งมีสายสัมพันธ์เชื่อมต่อมาจากอาณาจักรศรีวิชัย แต่ฝ่ายมหายานในสมัยนี้ผสมกับศาสนาพราหมณ์มาก ประชาชนในอาณาเขตต่าง ๆ ดังกล่าว จึงได้รับพระพุทธศาสนาทั้งแบบเถรวาทที่สืบมาแต่เดิม กับแบบมหายานและศาสนาพราหมณ์ที่เข้ามาใหม่ด้วย ทำให้มีผู้นับถือพระพุทธศาสนาทั้ง 2 แบบ และมีพระสงฆ์ทั้งสองฝ่าย คือ ฝ่ายเถรวาท และฝ่ายมหายาน สำหรับศาสนสถานที่เป็นที่ประจักษ์พยานให้ได้ศึกษาถึงความเป็นมาแห่งพระพุทธศาสนาในประเทศไทยครั้งนั้น ได้แก่พระปรางค์สามยอดที่จังหวัดลพบุรี ปราสาทหินพิมาย ที่จังหวัดนครราชสีมา และปราสาทหินเขาพนมรุ้งที่จังหวัดบุรีรัมย์ เป็นต้น ส่วนพระพุทธรูปที่สร้างในสมัยนั้นถือเป็นศิลปะอยู่ในกลุ่ม ศิลปสมัยลพบุรี
[แก้] สมัยเถรวาทแบบพุกาม
ในสมัยที่พระเจ้าอนุรุทธิ์มหาราช กษัตริย์พุกามเรืองอำนาจ ทรงรวบรวมเอาพม่ากับมอญเข้าเป็นอาณาจักรเดียวกัน แล้วแผ่อาณาเขตเข้ามาถึงอาณาจักรล้านนา อาณาจักรล้านช้าง ละโว้ และทวารวดี พระเจ้าอนุรุทธทรงนับถือพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาท ทรงส่งเสริมทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอย่างจริงจัง
ส่วนชนชาติไทย หลังจากอาณาจักรอ้ายลาวถูกจีนทำลายจนพินาศ ก็ได้มาตั้งอาณาจักรน่านเจ้า ถึงประมาณ พ.ศ. 1299 ขุนท้าวกวxาโอรสขุนบรมแห่งอาณาจักรน่านเจ้า ได้สถาปนาแคว้นโยนกเชียงแสนขึ้น ต่อมาอาณาจักรน่านเจ้าได้ถูกจีนแทรกซึมเข้าทำลายจนพินาศอีกครั้ง ซึ่งในคราวนี้ผู้ปกครองของจีนได้ใช้วิธีแบ่งคนไทยออกเป็นกลุ่มเล็กกลุ่มน้อยแล้วผลักดันออกไปคนละทิศละทาง และนับแต่นั้นเป็นต้นมาคนไทยก็ได้แตกสานซ่านเซ็นจนรวมกันไม่ติดอยู่จนถึงวันนี้ คือ ทางตะวันตกได้ถูกจีนผลักดันจนแตกกระจัดพลัดพรายไปถึงอัสสัม(อยู่ทางภาคตะวันออกของอินเดียในปัจจุบัน)ส่วนทางตะวันออกก็กระจัดกระจายไปถึงกวางสี หูหนาน เกาะไหหลำ รวมถึงตอนเหนือของประเทศเวียดนามในปัจจุบัน ส่วนทางใต้นั้นก็ได้แก่ประชากรในประเทศต่างๆทางเอเชียอาคเนย์ปัจจุบัน โดยเฉพาะในประเทศลาวและไทย
เมื่อกษัตริย์ขอม(กัมพูชา)เรืองอำนาจ คนไทยที่อยู่ในเขตอำนาจของขอม ก็ได้รับทั้งศาสนาและวัฒนธรรมของเขมรไว้ด้วย ส่วนทางล้านนาก็ได้รับอิทธิพลจากพม่าเช่นเดียวกัน คือ เมื่ออาณาจักรพุกามของกษัตริย์พม่าเข้ามาครอบครองดินแดนแถบนี้ ดังเห็นว่ามีปูชนียสถานแบบพม่าหลายแห่ง และเจดีย์ที่มีฉัตรอยู่บนยอด และฉัตรที่ 4 มุมของเจดีย์ ก็ได้รับอิทธิพลมาจากศิลปะพุกามแบบพม่า
[แก้] สมัยกรุงสุโขทัย

พระพุทธชินราช สร้างในสมัย พระมหาธรรมราชาที่ 1 ได้รับการยกย่องว่ามีความงดงามเป็นเลิศ

วัดศรีชุม สุโขทัย
หลังจากอาณาจักรพุกามและกัมพูชาเสื่อมอำนาจลง คนไทยจึงได้ตั้งตัวเป็นอิสระ ได้ก่อตั้งอาณาจักรขึ้นเอง 2 อาณาจักร ได้แก่ อาณาจักรล้านนาทางภาคเหนือของไทย ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดเชียงใหม่และอาณาจักรสุโขทัยซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน เมื่อพ่อขุนรามคำแหงมหาราชเสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงสดับกิตติศัพท์ของพระสงฆ์ลังกา จึงทรงอาราธนาพระมหาเถระสังฆราช ซึ่งเป็นพระเถระชาวลังกาที่มาเผยแผ่อยู่ที่นครศรีธรรมราช มาเผยแผ่พระพุทธศาสนาในกรุงสุโขทัย
พระพุทธศาสนาแบบลังกาวงศ์ได้เข้ามาเผยแผ่ในประเทศไทย ถึง 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ในสมัยพ่อขุนรามคำแหงมหาราช และครั้งที่ 2 ในสมัยพระยาลิไท พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองมาก ศิลปะสมัยสุโขทัยได้รับการกล่าวขานว่างดงามมาก โดยเฉพาะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะงดงาม ไม่มีศิลปะสมัยใดเหมือน
[แก้] สมัยล้านนา
ปี พ.ศ. 1839 พระยามังราย ทรงสร้างราชธานีขึ้น ชื่อว่า "นพบุรีศรีนครพิงค์เชียงใหม่" ได้ตั้งถิ่นฐาน ณ ลุ่มแม่น้ำปิง ได้สร้างเมือง สร้างวัง และวัดขึ้น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ได้สร้างวัดต่าง ๆ มากมาย ทั้งที่เป็นฝ่ายคามวาสี และอรัญญวาสี จนพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรือง เมืองต่าง ๆ ในอาณาจักรล้านนา เช่น เชียงราย ลำพูน ลำปาง แพร่ น่าน พะเยา และ ศรีนพวงศ์ ต่างก็มีความเจริญรุ่งเรือง โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้านพระพุทธศาสนา พิธีกรรมและความเชื่อทางศาสนามีอิทธิพลต่อชาวล้านนาอย่างมาก ในรัชสมัยของพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ ได้ทำการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งแรกในดินแดนประเทศไทยปัจจุบันขึ้น ณ วัดมหาโพธาราม (วัดเจ็ดยอด) เมื่อ ปี พ.ศ. 2020 ในสมัยล้านนา ได้เกิดมีพระเถระนักปราชญ์ชาวล้านนาหลายรูป ท่านเหล่านั้นได้รจนาคัมภีร์สำคัญทางพระพุทธศาสนาไว้เป็นจำนวนมาก ได้แก่ พระสิริมังคลาจารย์ พระญาณกิตติเถระ พระรัตนปัญญา พระโพธิรังษี พระนันทาจารย์ และพระสุวรรณรังสี
[แก้] สมัยกรุงศรีอยุธยา
พระพุทธศาสนาในสมัยอยุธยานั้นมีความเป็นฮินดูปนอยู่ค่อนข้างมาก พิธีกรรมต่าง ๆ ได้ปะปนพิธีของพราหมณ์มากกว่าที่ใดๆ ราษฎรอยุธยามุ่งในเรื่องการบุญการกุศล สร้างวัดวาอาราม สร้างปูชนียวัตถุ บำรุงศาสนาเป็นส่วนมาก ในสมัยอยุธยาต้องประสบกับภาวะสงครามกับพม่า จนเกิดภาวะวิกฤตทางศาสนาหลายครั้ง ประวัติศาสตร์อยุธยาแบ่งเป็น 4 ช่วง ได้แก่
[แก้] สมัยอยุธยาช่วงแรก (พ.ศ. 1991 - 2031)
ในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงปกครองบ้านเมืองด้วยความสงบร่มเย็น ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา ทรงผนวชเป็นเวลา 8 เดือน เมื่อ พ.ศ. 1998 และทรงให้พระราชโอรสกับพระราชนัดดาผนวชเป็นสามเณรด้วย สันนิษฐานว่าเป็นการเริ่มต้นของประเพณีการบวชเรียนของเจ้านายและข้าราชการ ในรัชสมัยของพระองค์ ได้มีการรจนาหนังสือมหาชาติคำหลวง ใน พ.ศ. 2025
[แก้] สมัยอยุธยาช่วงที่สอง ( พ.ศ. 2034 - 2173)
สมัยนี้ได้มีความนิยมในการสร้างวัดขึ้น ทั้งกษัตริย์และประชาชนทั่วไป นิยมสร้างวัดประจำตระกูล ในสมัยพระเจ้าทรงธรรมได้พบพระพุทธบาท สระบุรี ทรงให้สร้างมณฑปครอบพระพุทธบาทไว้ และโปรดให้ชุมชนราชบัณฑิตแต่งกาพย์มหาชาติ เมื่อ พ.ศ. 2170 และโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกด้วย
[แก้] สมัยอยุธยาช่วงที่สาม (พ.ศ. 2173 - 2310)
พระมหากษัตริย์ที่มีพระนามยิ่งใหญ่ที่สุดในศตวรรษนี้ ได้แก่สมเด็จพระนารายณ์มหาราช พระองค์ทรงมีบทบาทอย่างมากทั้งต่อฝ่ายอาณาจักรและศาสนจักร ทรงส่งเสริมพระพุทธศาสนาอย่างแรงกล้า สมัยนี้ฝรั่งเศสได้เข้ามาติดต่อกับไทย และได้พยายามเผยแผ่คริสต์ศาสนา และอาจทูลขอให้พระนารายณ์เข้ารีต แต่พระองค์ทรงมั่นคงในพระพุทธศาสนา มิชชันนารี่ฝรั่งเศสจึงต้องผิดหวังไป
[แก้] สมัยอยุธยาช่วงที่สี่ (พ.ศ. 2275 - 2310)
พระมหากษัตริย์ที่ทรงมีบทบาทมากในยุคนี้ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ ทรงเสวยราช เมื่อ พ.ศ. 2275 การบวชเรียนกลายเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาถึงยุคหลัง ถึงกับกำหนดให้ผู้ที่จะเป็นขุนนาง มียศถาบรรดาศักดิ์ต้องเป็นผู้ที่ผ่านการบวชเรียนมาเท่านั้น จึงจะทรงแต่งตั้งตำแหน่งหน้าที่ให้ ในสมัยนี้ได้ส่งพระภิกษุเถระชาวไทยไปฟื้นฟูพุทธศาสนาในประเทศลังกาตามคำทูลขอของกษัตริย์ลังกา เมื่อ พ.ศ. 2296 จนทำให้พุทธศาสนากลับเจริญรุ่งเรืองในลังกาอีกครั้ง จนถึงปัจจุบัน และเกิดนิกายของคณะสงฆ์ไทยขึ้นในลังกา ชื่อว่านิกายสยามวงศ์ นิกายนี้ยังคงมีอยู่ถึงปัจจุบัน
[แก้] สมัยกรุงธนบุรี

พระแก้วมรกต
ในยุคนี้นับเป็นยุคแห่งความเสื่อมของพุทธศาสนาอีกสมัยหนึ่ง คือ นับแต่พระยาตาก(สิน)ได้ชักนำคนไทยเชื้อสายจีนหนีฝ่าทัพพม่าออกจากกำแพงพระนครศรีอยุธยาจนกรุงศรีอยุธยาถูกพม่าตีแตกในปี พ.ศ. 2310แล้ว พม่าได้ทำลายบ้านเมืองจนเสียหายย่อยยับ ล้างผลาญชีวิตคน ข่มขืนผู้หญิงไทย ปล้นเอาทรัพย์สินมีค่าทั้งหมด กวาดต้อนประชาชนแม้กระทั่งพระสงฆ์ไปเป็นเชลยเป็นจำนวนมาก วัดวาอารามถูกเผาทำลาย ครั้นต่อมาพระยาตาก(สิน)ได้สถาปนาขึ้นเป็นกษัตริย์และตั้งราชธานีใหม่ คือ เมืองธนบุรีแล้ว ก็หาได้มีใจศรัทธาในพระพุทธศาสนาอย่างแท้จริงไม่ กลับใช้อำนาจที่มีข่มเหงรั งแกพระสงฆ์ ทั้งสั่งประหาร เฆี่ยนตี หรือแม้แต่บังคับให้สงฆ์ทำหน้าที่ตักอุจจาระ และด้วยเหตุนี้เองจึงก่อให้เกิดกระแสความโกรธแค้นจากคนไทยที่ได้รู้เห็น จนในที่สุดพระเจ้าตากสินจึงไม่อาจครองบังลังก์อยู่ได้
อย่างไรก็ตาม ยุคนี้ในปีพ.ศ. 2322 เจ้าพระยาจักรีก็ได้อัญเชิญพระแก้วมรกตจากเวียงจันทน์มาไว้ยังประเทศไทยด้วยเช่นกัน
[แก้] สมัยกรุงรัตนโกสินทร์
[แก้] รัชกาลที่ 1 (พ.ศ. 2325 - 2352)
พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อปี พ.ศ. 2325 ต่อจากพระเจ้าตากสิน ได้ทรงย้ายเมืองจากธนบุรี มาตั้งราชธานีใหม่ เรียกชื่อว่า "กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์" ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ เช่น การสร้าง วัดพระศรีรัตนศาสดาราม วัดสุทัศน์เทพวราราม วัดสระเกศ และวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นต้น ทรงโปรดให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกครั้งที่ 9 และถือเป็นครั้งที่ 2 ในดินแดนประเทศไทยปัจจุบัน ณ วัดมหาธาตุทรงตรากฎหมายคณะสงฆ์ขึ้น เพื่อจัดระเบียบการปกครองของสงฆ์ให้เรียบร้อย ทรงจัดให้มีการสอบพระปริยัติธรรม ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์แรกของกรุงรัตนโกสินทร์ โดยสถาปนาพระสังฆราช (ศรี) เป็นสมเด็จพระสังฆราช เมื่อปี พ.ศ. 2352
[แก้] รัชกาลที่ 2 (พ.ศ. 2352 - 2367)
พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จขึ้นครองราชย์เมื่อ พ.ศ. 2352 เป็นทรงทำนุบำรุงส่งเสริมพระพุทธศาสนาเหมือนอย่างพระมหากษัตริย์ไทยแต่โบราณในรัชสมัยของพระองค์ได้ทรงสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชถึง 3 พระองค์ คือ สมเด็จพระสังฆราช (มี) , สมเด็จพระสังฆราช (สุก) , และสมเด็จพระสังฆราช (สอน)
ในปี พ.ศ. 2357 ทรงจัดส่งสมณทูต 8 รูป ไปฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศลังกา ได้จัดให้มีการจัดงานวันวิสาขบูชาขึ้นเป็นครั้งแรกในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อ พ.ศ. 2360 ซึ่งแต่เดิมก็เคยปฏิบัติถือกันมาเมื่อครั้งกรุงสุโขทัย แต่ได้ขาดตอนไปตั้งแต่เสียกรุงศรีอยุธยาแก่พม่า จึงได้มีการฟื้นฟูวันวิสาขบูชาใหม่ ได้โปรดให้มีการเปลี่ยนแปลงแก้ไขวิธีการสอบไล่ปริยัติธรรมขึ้นใหม่ ได้ขยายหลักสูตร 3 ชั้น คือ เปรียญตรี -โท - เอก เป็น 9 ชั้น คือ ชั้นประโยค 1 - 9
[แก้] รัชกาลที่ 3 (พ.ศ. 2367 - 2354)
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้มีการสร้างพระไตรปิฎกฉบับหลวงเพิ่มจำนวนขึ้นไว้อีกหลายฉบับครบถ้วนกว่ารัชกาลก่อน ๆ โปรดให้แปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย ทรงบูรณปฏิสังขรณ์วัดวาอารามหลายแห่ง และสร้างวัดใหม่ คือ วัดเทพธิดาราม วัดราชราชนัดดา และวัดเฉลิมพระเกียรติ ได้ตั้งโรงเรียนหลวงขึ้นเป็นครั้งแรก เพื่อสอนหนังสือไทยแก่เด็กในสมัยนี้ได้เกิดนิกายธรรมยุติขึ้น โดยพระวชิรญาณเถระ (เจ้าฟ้ามงกุฏ) ขณะที่ผนวชอยู่ได้ทรงศรัทธาเลื่อมใสในจริยาวัตรของพระมอญ ชื่อ ซาย ฉายา พุทฺธวํโส จึงได้ทรงอุปสมบทใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2372 ได้ตั้งคณะธรรมยุติขึ้นในปี พ.ศ. 2376 แล้วเสด็จมาประทับที่วัดบวรนิเวศวิหาร และตั้งเป็นศูนย์กลางของคณะธรรมยุติ
[แก้] รัชกาลที่ 4 (พ.ศ. 2394 -2411)
พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เมื่อทรงเป็นเจ้าฟ้ามงกุฎได้ผนวช 27 พรรษาแล้วได้ลาสิกขาขึ้นครองราชย์เมื่อพระชนมายุ 57 พรรษา ใน พ.ศ. 2239 ด้านการพระศาสนา ทรงพระราชศรัทธาสร้างวัดใหม่ขึ้นหลายวัด เช่น วัดปทุมวนาราม วัดโสมนัสวิหาร วัดมกุฎกษัตริยาราม วัดราชประดิษฐ์สถิตมหาสีมาราม และวัดราชบพิตร เป็นต้น ตลอดจนบูรณะวัดต่าง ๆ อีกมาก โปรดให้มีพระราชพิธี "มาฆบูชา" ขึ้นเป็นครั้งแรก ใน พ.ศ. 2394 ณ ที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม จนได้ถือปฏิบัติสืบมาจนถึงทุกวันนี้
[แก้] รัชกาลที่ 5 (พ.ศ. 2411 - 2453)
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ เมื่อ พ.ศ. 2411 ทรงสร้างวัดใหม่ขึ้น คือ วัดราชบพิตร วัดเทพศิรินทราวาส วัดเบญจมบพิตร วัดอัษฎางนิมิตร วัดจุฑาทิศราชธรรมสภา และวัดนิเวศน์ธรรมประวัติ ทรงบูรณะวัดมหาธาตุ และวัดอื่น ๆ อีก ทรงนิพนธ์วรรณกรรมทางพุทธศาสนาจำนวนมาก โปรดให้มีการเริ่มต้นการศึกษาแบบสมัยใหม่ในประเทศไทย โดยให้พระสงฆ์รับภาระช่วยการศึกษาของชาติ
พ.ศ. 2427 ได้จัดตั้งโรงเรียนสำหรับราษฎรขึ้นเป็นแห่งแรก ณ วัดมหรรณพาราม
พ.ศ. 2414 โปรดให้จัดการศึกษาแก่ประชาชนในหัวเมือง โดยจัดตั้งโรงเรียนในหัวเมืองขึ้น
พ.ศ. 2435 มีพระบรมราชโองการประกาศตั้งกรมธรรมการเป็นกระทรวงธรรมการ (กระทรวงศึกษาธิการปัจจุบัน) โปรดให้มีการพิมพ์พระไตรปิฎกด้วยอักษรไทย จบละ 39 เล่ม จำนวน 1,000 จบ
พ.ศ. 2432 โปรดให้ย้ายที่ราชบัณฑิตบอกพระปริยัติธรรมแก่พระภิกษุสามเณร จากในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ออกมาเป็นบาลีวิทยาลัย ชื่อมหาธาตุวิทยาลัย ที่วัดมหาธาตุ
พ.ศ. 2439 ได้ประกาศเปลี่ยนนามมหาธาตุวิทยาลัยเป็นมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นที่ศึกษาพระปริยัติธรรมและวิชาการชั้นสูงของพระภิกษุสามเณร
พ.ศ. 2436 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงจัดตั้ง "มหามกุฏราชวิทยาลัย" ขึ้น เพื่อเป็นแหล่งศึกษาพระพุทธศาสนาแก่พระภิกษุสามเณรฝ่ายธรรมยุตินิกาย พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงเสด็จเปิดในปีเดียวกัน
[แก้] รัชกาลที่ 6 (พ.ศ. 2453 -2468)
พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จขึ้นครองราชย์ ทรงพระปรีชาปราดเปรื่องในความรู้ทางพระศาสนามาก ทรงนิพนธ์หนังสือแสดงคำสอนในพระพุทธศาสนาหลายเรื่อง เช่น เทศนาเสือป่า พระพุทธเจ้าตรัสรู้อะไร เป็นต้น ถึงกับทรงอบรมสั่งสอนอบรมข้าราชการด้วยพระองค์เอง ทรงโปรดให้ใช้ พุทธศักราช (พ.ศ.) แทน ร.ศ. เมื่อ พ.ศ. 2456 ให้เปลี่ยนกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. 2454 สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ทรงเปลี่ยนวิธีการสอบบาลีสนามหลวงจากปากเปล่ามาเป็นข้อเขียน เป็นครั้งแรก
พ.ศ. 2469 ทรงเริ่มการศึกษาพระปริยัติธรรมใหม่ขึ้นอีกหลักสูตรหนึ่ง เรียกว่า "นักธรรม" โดยมีการสอบครั้งแรกเมื่อ เดือนตุลาคม พ.ศ. 2454 ตอนแรกเรียกว่า "องค์ของสามเณรรู้ธรรม"
พ.ศ. 2462 ถึง พ.ศ. 2463 โปรดให้พิมพ์คัมภีร์อรรถกถาแห่งพระไตรปิฎกและอรรถกถาชาดก และคัมภีร์อื่นๆ เช่น วิสุทธิมรรค คัมภีร์มิลินทปัญหา เป็นต้น
[แก้] รัชกาลที่ 7 (พ.ศ. 2468 - 2477)
พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงโปรดให้มีการทำสังคายนาพระไตรปิฎกขึ้น ตั้งแต่ พ.ศ. 2468 - 2473 เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นการสังคายนาครั้งที่ 3 ในเมืองไทย แล้วทรงจัดให้พิมพ์พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ ชุดละ 45 เล่ม จำนวน 1,500 ชุด และพระราชทานแก่ประเทศต่าง ๆ ประมาณ 500 ชุด โปรดให้ย้ายกรมธรรมการกลับเข้ามารวมกับกระทรวงศึกษาธิการ และเปลี่ยนชื่อกระทรวงศึกษาธิการเป็นกระทรวงธรรมการอย่างเดิม โดยมีพระราชดำริว่า "การศึกษาไม่ควรแยกออกจากวัด" ต่อมาปี พ.ศ. 2471 กระทรวงธรรมการประกาศเพิ่มหลักสูตรทางจริยศึกษาสำหรับนักเรียน ได้เปิดให้ฆราวาสเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรม โดยจัดหลักสูตรใหม่ เรียกว่า "ธรรมศึกษา" ในรัชสมัยรัชกาลที่ 7 ได้มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งยิ่งใหญ่ของไทย เมื่อคณะราษฎรได้ทำการปฏิวัติ เปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เป็นระบอบประชาธิปไตย เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสละราชสมบัติเมื่อ พ.ศ. 2477 ต่อมาพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล ขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8
[แก้] รัชกาลที่ 8 (พ.ศ. 2477 - 2489)
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดล เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 8 ในขณะพระพระชนมายุ เพียง 9 พรรษาเท่านั้น และยังกำลังทรงศึกษาอยู่ในต่างประเทศ จึงมีผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ในด้านการศาสนาได้มีการแปลพระไตรปิฎกเป็นภาษาไทย แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
พระไตรปิฎก แปลโดยอรรถ พิมพ์เป็นเล่มสมุด 80 เล่ม เรียกว่าพระไตรปิฎกภาษาไทย แต่ไม่เสร็จสมบูรณ์ และได้ทำต่อจนเสร็จเมื่องานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ เมื่อปี พ.ศ. 2500
พระไตรปิฎก แปลโดยสำนวนเทศนา พิมพ์ใบลาน แบ่งเป็น 1250 กัณฑ์ เรียกว่า พระไตรปิฎกฉบับหลวง เสร็จเมื่อ พ.ศ. 2492
พ.ศ. 2484 ได้เปลี่ยนชื่อกระทรวงธรรมการเป็นกระทรวงศึกษาธิการ และกรมธรรมการเปลี่ยนเป็น กรมการศาสนา และในปีเดียวกัน รัฐบาลได้ออก พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2484 เมื่อวันที่ 14 ตุลาคม เพื่อให้การปกครองคณะสงฆ์มีความสอดคล้องเหมาะสมกับการปกครองแบบใหม่
พ.ศ. 2488 มหามกุฎราชวิทยาลัย ซึ่งตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2436 ได้ประกาศตั้งเป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์ ชื่อ "สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย" เมื่อวันที่ 10 ธันวาคม
พ.ศ. 2498 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลได้ถูกลอบปลงพระชนม์ เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เสด็จขึ้นครองราชย์ เป็นรัชกาลที่ 9 รัชกาลปัจจุบัน
[แก้] สมัยรัชกาลที่ 9 (พ.ศ. 2489 - ปัจจุบัน)

ชายนิรนามปีนขึ้นไปบนพานรัฐธรรมนูญ อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย เรียกร้องให้บรรจุศาสนาพุทธ เป็นศาสนาประจำชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นรัชกาลที่ 9 สืบต่อมา ทรงมีพระราชศรัทธาในพระพุทธศาสนา และทรงเป็นศาสนูปถัมภก ทรงให้การอุปถัมภ์แก่ทุกศาสนา ทรงสร้างวัดแห่งหนึ่งที่จังหวัดชลบุรี และทรงปกครองบ้านเมืองโดยสงบร่มเย็น ตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ในรัชสมัยรัชกาลปัจจุบันได้มีการส่งเสริมพุทธศาสนาด้านต่าง ๆ มากมาย
ในปี พ.ศ. 2500 ซึ่งเป็นปีครบรอบ 2,500 ปีที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพาน วันที่ 12-18 พฤษภาคม 2500 รัฐบาลได้จัดงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ซึ่งอินเดียและลังกาเรียกว่า "พุทธชยันตี" โดยกำหนดให้วันที่ 12-14 พฤษภาคมเป็นวันหยุดราชการ ศาลาพิธีตั้งอยู่กลางท้องสนามหลวง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้เสด็จฯ เป็นองค์ประธานเปิดงาน มีผู้แทนจาก 13 ประเทศเข้าร่วม พระสงฆ์ 2,500 รูป เจริญพระพุทธมนต์พร้อมกันดังกังวานก้องไปทั่วทุกทิศ และมีการเชิญชวนพุทธศาสนิกชนรักษาศีลห้าหรือศีลแปด ตลอด 7 วัน 7 คืน
ในปี พ.ศ. 2500 นี้ รัฐบาลได้กำหนดพิธีเฉลิมฉลองทั่วประเทศ มีการจัดสร้างพุทธมณฑล ขึ้น ณ ที่ดิน 2,500 ไร่ ระหว่างกรุงเทพ-นครปฐม แล้วสร้างพระมหาพุทธปฏิมาปางประทับยืนลีลาสูง 2500 นิ้ว ภาย ในบริเวณรอบองค์พระมีภาพจำลองพระพุทธประวัติ และมีพิพิธภัณฑ์ทางพระพุทธศาสนา ได้ปลูกต้นไม้ที่มีชื่อในพระพุทธศาสนา เช่น ต้นโพธิ์ ต้นไทร เป็นต้น สร้างพระพิมพ์ปางลีลาเป็นเนื้อชินและเนื้อผงจำนวน 4,842,500 องค์ พิมพ์พระไตรปิฎกแปลจากภาษาบาลีเป็นภาษาไทยออกเผยแพร่ และบูรณะปูชนียสถานวัด วาอารามทั่วพระราชอาณาจักร อุปสมบทพระภิกษุจำนวน 2,500 รูป และนิรโทษกรรมแก่นักโทษ ประกวด วรรณกรรม ศิลปะทางพระพุทธศาสนา โดยเชิญผู้แทนพุทธศาสนิกชนทั่วโลกมาร่วมอนุโมทนา
ในปัจจุบันนี้มีประชากรไทยนับถือพุทธศาสนามากกว่าร้อยละ 94 และมีพุทธศาสนิกชนมากเป็นอันดับ 4 ของโลก (รองจากประเทศจีน ญี่ปุ่น และเวียดนาม ตามลำดับ)

วิถีชีวิตชาวอีสาน




ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
การสร้างบ้านของชุมชนในภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ตั้งแต่สมัยโบราณมักเลือกทำเลที่ตั้งอยู่ตามที่ราบลุ่มที่มีแม่สำคัญ ๆ ไหลผ่าน เช่น แม่น้ำโขง แม่น้ำมูล แม่น้ำชี แม่น้ำสงคราม ฯลฯ รวมทั้งอาศัยอยู่ตามริมหนองบึง ถ้าตอนใดน้ำท่วมถึงก็จะขยับไปตั้งอยู่บนโคกหรือเนินสูง ดังนั้นชื่อหมู่บ้านในภาคอีสานจึงมักข้นต้นด้วยคำว่า "โคก โนน หนอง" เป็นส่วนใหญ่
ลักษณะหมู่บ้านทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือหรือภาคอีสานนั้นมักจะอยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่วนที่ตั้งบ้านเรือนตามทางยาวของลำน้ำนั้นมีน้อย ผิดกับทางภาคกลางที่มักตั้งบ้านเรือนตามทางยาว ทั้งนี้เพราะมีแม่น้ำลำคลองมากกว่า
หนุ่มสาวชาวอีสานเมื่อแต่งงานกันแล้ว ตามปกติฝ่ายชายจะต้องไปอยู่บ้านพ่อตาแม่ยาย ต่อเมื่อมีลูกจึงขยับขยายไปอยู่ที่ใหม่เรียกว่า "ออกเฮือน" แล้วหักล้างถางพงหาที่ทำนา ดังนั้น ที่นาของคนชั้นลูกชั้นหลานจึงมักไกลออกจากหมู่บ้านไปทุกที และเมื่อบริเวณเหมาะสมจะทำนาหมดไป เพราะพื้นที่ราบที่มีแหล่งน้ำจำกัด คนอีสานชั้นลูกหลานก็มักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่อีก หรือถ้าที่ราบในการทำนาบริเวณใดกว้างไกลไปมาลำบาก ก็จะชักชวนกันไปตั้งบ้านใหม่ใกล้เคียงกับนาของตน ทำให้เกิดการขยายตัวกลายเป็นหมู่บ้านขึ้น
ลักษรณะการตั้งถิ่นฐาน
ในการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนของคนอีสานมักเลือกทำเลที่เอื้อต่อการยังชีพ ซึ่งมีองค์ประกอบทั่วไปดังนี้
1. แหล่งน้ำ นับเป็นสิ่งสำคัญอันดับแรก อาจเป็นหนองน้ำใหญ่หรือห้วย หรือ ลำน้ำที่แยกสาขามาจากแม่น้ำใหญ่ ที่มีน้ำเฉพาะฤดูฝนส่วนมากเป็นที่ราบลุ่มสามารถทำนาเลี้ยงสัตว์ ได้ในบางฤดูเท่านั้น
ชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วยคำว่า "เลิง วัง ห้วย กุด หนอง และท่า" เช่น เลิงนกทา วังสามหม้อ ห้วยยาง กุดนาคำ หนองบัวแดง ฯลฯ
2. บริเวณที่ดอนเป็นโคกหรือที่สูงน้ำท่วมไม่ถึง สามารถทำไร่และมีทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ มีทั้งที่ดอนริมแม่น้ำและที่ดอนตามป่าริมเขา แต่มีน้ำซับไหลมาบรรจบเป็นหนองน้ำชื่อหมู่บ้านมักขึ้นต้นด้วนคำว่า "โคก ดอน โพน และโนน" เช่น โคกสมบูรณ์ ดอนสวรรค์ โพนยางคำ ฯลฯ
3. บริเวณป่าดง เป็นทำเลที่ใช้ปลูกพืชไร่และสามารถหาของป่าได้สะดวก มีลำธารไหลผ่าน เมื่ออพยพมาอยู่กันมากเข้าก็กลายเป็นหมู่บ้านและมักเรียกชื่อหมู่บ้านขึ้นต้นด้วยคำว่า "ดง ป่า และเหล่า" เช่น โคกศาลา ป่าต้นเปือย เหล่าอุดม ฯลฯ
4. บริเวณที่ราบลุ่ม เป็นพื้นที่เหมาะในการทำนาข้าว และทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ในหน้าแล้ง ตัวหมู่บ้านจะตั้งอยู่บริเวณขอบหรือแนวของที่ราบติดกับชายป่า แต่น้ำท่วม
ไม่ถึงในหน้าฝน บางพื้นที่เป็นที่ราบลุ่มมีน้ำขังตลอดปี เรียกว่า "ป่าบุ่งป่าทาม" เป็นต้น
5. บริเวณป่าละเมาะ มักเป็นที่สาธารณะสามารถใช้เลี้ยงสัตว์และหาของป่าเป็นอาหารได้ ตลอดจนมีสัตว์เล็กสัตว์น้อยที่นำมาเป็นอาหารยังชีพ รวมทั้งสมุนไพรใช้รักษา
โรค และเป็นสถานที่ยกเว้นไว้เป็นดอนปู่ตาตามคติความเชื่อของวัฒนธรรมกลุ่มไต-ลาว
ความเชื่อในการตั้งหมู่บ้าน
การเลือกภูมิประเทศเพื่อตั้งหมู่บ้านในภาคอีสานจะเห็นได้ว่ามีหลักสำคัญอยู่ 3 ประการ คือ ต้องเลือกทำเลที่ประกอบด้วย
1. น้ำ เพื่อการยังชีพและประกอบการเกษตรกรรม
2. นา เพื่อการปลูกข้าว (ข้าวเหนียว) เป็นอาหารหลัก
3. โนน เพื่อการสร้างบ้านแปงเมือง ที่น้ำท่วมไม่ถึง
ส่วนคติความเชื่อของชาวอีสานในการดำเนินชีวิต ชาวอีสานมี ความเชื่อที่ได้รับการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษกล่าวคือ ความเชื่อในอำนาจลี้ลับที่เหนือธรรมชาติ และเชื่อในการครองเรือน การทำมาหาเลี้ยงชีพ สิ่งใดที่โบราณห้ามว่าเป็นโทษ และเป็นความเดือดร้อนมาให้ก็จะละเว้นและไม่ยอมทำสิ่งนั้น
สำหรับความเชื่อในการตั้งหมู่บ้านก็ไม่ต่างกันนัก ชาวอีสานมีการนับถือ"ผีบ้าน" และแถนหรือ "ผีฟ้า"มีการเซ่นสรวงดวงวิญญาณบรรพบุรุษเพื่อให้ช่วยปกป้องรักษาลูกหลาน มีการตั้ง "ศาลเจ้าปู่" ไว้ที่ดอนปู่ตา ซึ่งมีชัยภูมิเป็นโคก น้ำท่วมไม่ถึง มีต้นไม้ใหญ่หนาทึบ มีการก่อสร้าง "ตูบ" เป็นที่สถิตของเจ้าปู่ทั้งหลาย ตลอดจนการ
ตั้ง "บือบ้าน"(หลักบ้าน)เพื่อเป็นสิริมงคลของหมู่บ้าน และมีการเซ่น "ผีอาฮัก" คือเทพารักษ์ให้ดูแลคุ้มครองผู้คนในหมู่บ้านให้อยู่ดีมีสุขตลอดไป
พิธีเลี้ยง "ผีปู่ตา" จะกระทำในเดือน 7 คำว่า "ปู่ตา" หมายถึงญาติฝ่ายพ่อ(ปู่-ย่า)และญาติฝ่ายแม่(ตา-ยาย)ซึ่งทั้งสี่คนนี้ เมื่อยังมีชีวิตอยู่ก็เป็นที่เคารพของลูกหลาน ครั้นเมื่อตายไปจึงปลูกหอหรือที่ชาวอีสานเรียก"ตูบ" มักใช้เสา 4 ต้น หลังคาจั่วพื้นสูง โดยเลือกเอาสถานที่เป็นดงใกล้บ้านมีต้นไม้ใหญ่และสัตว์ป่านานาชนิดเรียกว่า"ดงปู่ตา" ถือเป็นที่ศักดิ์สิทธ์ ใครไปรุกล้ำตัดต้นไม้หรือล่าสัตว์ไม่ได้ หรือแม้แต่แสดงวาจาหยาบคายก็ไม่ได้ ปู่ตาจะลงโทษกระทำให้เจ็บหัวปวดท้อง
และเมื่อมีการเจ็บไข้ได้ป่วย มีคนล้มตายผิดปกติเกิดขึ้นในหมู่บ้านชาวอีสานถือกันว่า"หลัก
เหงี่ยงหงวย" ต้องทำพิธีตอกหลักบ้านใหม่ให้เที่ยงตรง มีการสวดมนต์เลี้ยงพระสงฆ์ เซ่นสรวงเทพยาดาอารักษ์ แล้วหาหลักไม้แก่นมาปักใหม่ ซึ่งต้องมีคาถาหรือยันต์ใส่พร้อมกับสวดญัตติเสาก่อนเอาลงดินในบริเวณกลางบ้าน ทั้งนี้เพราะชาวอีสานมีความเชื่อในการตั้ง "หลักบ้าน" เพราะหลักบ้านเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของผังชุมชนระดับหมู่บ้าน และเปรียบเสมือนหัวใจของบ้าน เมื่อชุมชนเติบโตขึ้น "หลักบ้าน" ก็พัฒนาไปสู่"หลักเมือง" ดังที่ปรากฎอยู่ทั่วไปในประเทศไทย
หลักบ้านมักสร้างด้วยไม้มงคล เช่น ไม้คูน ไม้ยอ มีทั้งหลักประธานหลักเดี่ยวและมีพร้อมหลักบริวารรายล้อม ส่วนรูปแบบของหลักบ้านนั้น มักควั่นหัวไม้เป็นเสาทรงบัวตูมหยาบ ๆ บางแห่งก็ถากให้เป็นปลายแหลมแล้วทำหยัก"เอวขัน"ไว้ส่วนล่าง
ความเชื่อในการสร้างเรือนอีสาน
อันดับแรกต้องพิจารณาสถานที่ ๆ จะสร้างเรือนก่อน โดยต้องเลือกเอาสถานที่ปลอดโปร่ง ไม่มีหลุมบ่อ ไม่มีจอมปลวก ไม่มีหลุมผี ไม่มีตอไม้ใหญ่ และต้องดูความสูงต่ำ ลาดเอียงของพื้นดินว่าลาดเอียงไปทางทิศใดและจะเป็นมงคลหรือไม่ ดังนี้
1. พื้นดินใด สูงหนใต้ ต่ำทางเหนือ เรียกว่า "ไชยะเต ดีหลี"
2. พื้นดินใด สูงหนตะวันตก ต่ำทางตะวันออก เรียกว่า "ยสะศรี-ดีหลี"
3. พื้นดินใด สูงทางอีสาน ต่ำทางหรดี เรียกว่า "ไม่ดี"
4. พื้นดินใด สูงทางอาคเนย์ ต่ำทางพายัพ เรียกว่า "เตโซ" เฮือนนั้นมิดี เป็น ไข้ พยาธิฮ้อนใจ
เมื่อเลือกได้พื้นที่ปลูกเรือนแล้ว จะมีการเสี่ยงทายพื้นที่นั้นอีกครั้งหนึ่ง โดยจัดข้าว 3 กระทง คือ ข้าวเหนียว 1 กระทง,ข้าวเหนียวดำ 1 กระทงและข้าวเหนียวแดง 1 กระทง นำไป วางไว้ตรงหลักกลางที่ดินเพื่อให้กากิน
ถ้ากากินข้าวดำ ท่านว่าอย่าอยู่เพราะที่นั้นไม่ดีถ้ากากินข้าวแดง ท่านว่าไม่ดียิ่งเป็นอัปมงคลมากถ้ากากินข้าวขาว ท่านว่าดีหลี จะอยู่เย็นเป็นสุข ให้รีบเฮ็ดเรือนสมสร้างให้ เสร็จเร็วไวการเลือกพื้นที่ที่จะปลูกเรือนอีกวิธีหนึ่งคือ การชิมรสของดินโดยขุดหลุมลึกราวศอกเศษ ๆ เอาใบตองปูไว้ก้นหลุม แล้วหาหญ้าคาสดมาวางไว้บนใบตอง ทิ้งไว้ค้างคืนจะได้ไอดินเป็นเหงื่อจับอยู่หน้าใบตอง จากนั้นให้ชิมเหงื่อที่จับบนใบตอง
หากมีรสหวาน เป็นดินที่พออยู่ได้มีรสจืด เป็นดินที่เป็นมงคล จะอยู่เย็นเป็นสุขมีรสเค็ม เป็นอัปมงคล ใครอยู่มักไม่ยั่งยืนมีรสเปรี้ยว พออยู่ได้แต่ไม่ใคร่ดีนัก จะมีทุกข์เพราะเจ็บไข้อยู่เสมอ
นอกจากนี้ ยังมีความเชื่อเรื่องกลิ่นของดินอีกด้วย โดยการขุดดินลึกราว 1 ศอก เอาดินขึ้นมาดมกลิ่นว่าเป็นอย่างไร ซึ่งเชื่อกันว่า ถ้าดินมีกลิ่นหอม ถือว่าดินนั้นอุดมดี เป็นมงคลอยู่เย็นเป็นสุข แต่ถ้าดินมีกลิ่นเย็น กลิ่นเหม็น กลิ่นคาว ถือว่าดินนั้นไม่ดี ใครปลูกสร้างบ้านอยู่เป็นอัปมงคล
การดูพื้นที่ก่อนการสร้างเรือน ชาวอีสานแต่โบราณถือกันมากแต่ในปัจจุบันได้ปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต โดยยังใช้คติเดิมแต่มีการเลี่ยงหรือแก้เคล็ด เช่น การชิมดิน หากเป็นรสเค็มหรือเปรี้ยวก็แก้เคล็ดโดยการบอกว่าจืด ส่วนการดมกลิ่นดิน หากมีกลิ่นเหม็นคาวก็จะบอกเอาเคล็ดว่าหอม เป็นต้นฤกษ์ยามในการปลูกเรือน
ฤกษ์เดือน
1. เดือนเจียง (เดือนอ้าย) นาคนั้นนอนหลับหากปลูกเรือนอยู่มักตาย
2. เดือนยี่ นาคนอนตื่น ปลูกเรือนอยู่ดี
3. เดือนสาม นาคหากินทางเหนือ มิดี อยู่ฮ้อนไฟจักไหม้
4. เดือนสี่ นาคหากินอยู่เรือน ปลูกเรือนอยู่ดีเป็นมงคล
5. เดือนห้า นาคพ่ายครุฑหนี ปลูกเรือนร้อนนอกร้อนใจ มิดี
6. เดือนหก จะบริบูรณ์ด้วยทรัพย์สินเงินทอง มิตรสหายมาก
7. เดือนเจ็ด นาคพ่ายหนี จักได้พรากจากเรือนมิดี
8. เดือนแปด นาคเห็นครุฑ จักได้เสียของมิรู้แล้ว
9. เดือนเก้า นาคประดับตน ปลูกเรือนมีข้าวของกินมิรู้หมด
10. เดือนสิบ นาคถอดเครื่องประดับ ปลูกเรือนเข็ญใจ และคนในเรือนมักเจ็บ ไข้ตาย
11. เดือนสิบเอ็ด จะเกิดทุกข์ภัยอันตรายต่าง ๆ มักจะมีคนฟ้องร้องกล่าวหา จัก มีโทษทัณฑ์
12. เดือนสิบสอง จะได้ทรัพย์สิน เงินทอง ข้าวของ และคนใช้ดีหลีแล
ฤกษ์วัน
1. วันอาทิตย์ ปลูกเรือนจะเกิดทุกข์อุบาทว์
2. วันจันทร์ ทำแล้ว 2 เดือนจะได้ลาภผ้าผ่อนและของขาวเหลือง เป็นที่พึงพอใจ
3. วันอังคาร ทำแล้ว 3 วันไฟจะไหม้หรือเจ็บไข้
4. วันพุธ ปลูกเรือนจะได้ลาภเครื่องอุปโภคมีผ้าผ่อน เป็นต้น
5. วันพฤหัสบดี ปลูกเรือนจะเกิดสุขสบายใจ ทำแล้ว 5 เดือนจะได้โชคลาภมากมาย
6. วันศุกร์ ปลูกเรือนจะมีความทุกข์และความสุขก้ำกึ่งกัน ทำแล้ว 3 เดือน จะได้ลาภ เล็กน้อย
7. วันเสาร์ ปลูกเรือนจะเกิดพยาธิ หรือเลือดตกยางออก ทำแล้ว 4 เดือนจะลำบาก ห้ามไม่ให้ทำแล
ลักษณะเรือนไทยอีสาน
คำว่า “บ้าน “ กับ “เฮือน” (ความหมายเช่นเดียวกับ “เรือน”) สำหรับความเข้าใจของ ชาวอีสานแล้วจะต่างกัน คำว่า “บ้าน” มักจะหมายถึง “หมู่บ้าน” มิใช่บ้านเป็นหลัง ๆ เช่น บ้านโนนสมบูรณ์ บ้านนาคำแคน หรือบ้านดงมะไฟ เป็นต้น ส่วนคำว่า “ เฮือน” นั้นชาวอีสานหมายถึงเรือนที่เป็นหลัง ๆ
นอกจากคำว่า “เฮือน “ แล้ว อีสานยังมีสิ่งปลูกสร้างที่มีลักษณะการใช้สอยใกล้เคียงกัน แต่รูปแบบแตกต่างกันไป เช่น คำว่า “โฮง” หมายถึงที่พักอาศัยใหญ่กว่า “เฮือน” มักมีหลายห้อง เป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองหรือเจ้าครองนครในสมัยโบราณ
คำว่า “คุ้ม” หมายถึง บริเวณที่มี “เฮือน” รวมกันอยู่หลาย ๆ หลัง เป็นหมู่อยู่ในละแวกเดียวกัน เช่น คุ้มวัดเหนือ คุ้มวัดใต้ และคุ้มหนองบัว เป็นต้น คำว่า “ตูบ” หมายถึง กระท่อมที่ปลูกไว้เป็นที่พักชั่วคราว มุงด้วยหญ้าหรือใบไม้
ชาวอีสานมีความเชื่อในการสร้างเรือนให้ด้านกว้างหันไปทางทิศตะวันออกและตะวันตก ให้ด้านยาวหันไปทางทิศเหนือและใต้ ซึ่งเป็นลักษณะที่เรียกว่า วางเรือนแบบ “ล่องตาเว็น” (ตามตะวัน) เพราะถือกันว่า หากสร้างเรือนให้ “ขวางตาเว็น” แล้วจะ “ขะลำ” คือเป็นอัปมงคลทำให้ผู้อยู่ไม่มีความสุข
บริเวณรอบ ๆ เรือนอีสานไม่นิยมทำรั้ว เพราะเป็นสังคมเครือญาติมักทำยุ้งข้าวไว้ใกล้เรือน บางแห่งทำเพิงต่อจากยุ้งข้าว มีเสารับมุงด้วยหญ้าหรือแป้นไม้ เพื่อเป็นที่ติดตั้ง
ครกกระเดื่องไว้ตำข้าว ส่วนใต้ถุนบ้านซึ่งเป็นบริเวณที่มีการใช้สอยมากที่สุด จะมีการตั้งหูกไว้ทอผ้า กี่ทอเสื่อ แคร่ไว้ปั่นด้วย และเลี้ยงลูกหลาน
นอกจากนั้นแล้ว ใต้ถุนยังใช้เก็บไหหมักปลาร้า และสามารถกั้นเป็นคอกสัตว์เลี้ยง ใช้เก็บเครื่องมือเกษตรกรรม ตลอดจนใช้จอดเกวียน
อย่างไรก็ตามการจัดวางแผงผังของห้องและองค์ประกอบต่าง ๆ ในเรือนไทยอีสานมีดังนี้
1. เรือนนอนใหญ่ จะวางด้านจั่วรับทิศตะวันออก-ตะวันตก (ตามตะวัน) ส่วนมากจะมีความยาว 3 ช่วงเสา เรียกว่า “ เรือนสามห้อง” ใต้ถุนโล่ง ชั้นบนแบ่งออกเป็นสามส่วนคือ
1.1 ห้องเปิง เป็นห้องนอนของลูกชายมักไม่กั้นห้องด้านหัวนอนมีหิ้งประดิษฐานพระพุทธรูปหรือสิ่งเคารพบูชา เช่น เครื่องราง ของขลัง เป็นต้น
1.2 ห้องพ่อ-แม่อาจกั้นเป็นห้องหรือบางทีก็ปล่อยโล่ง
1.3 ห้องนอนลูกสาว มีประตูเข้ามีฝากั้นมิดชิดหากมีลูกเขยจะให้นอนในห้องนี้ซึ่ง ชาวอีสานเรียกว่า” ห้องส่วม”
ส่วนชั้นล่างของเรือนนอนใหญ่ อาจใช้สอยได้อีกกล่าวคือ กั้นเป็นคอกวัวควาย ตั้งแคร่นอนพักผ่อนในตอนกลางวัน และทำหัตถกรรมจักรสานถักทอของสมาชิกในครอบ
ครัวเก็บอุปกรณ์การทำนาทำไร่ เช่น จอบ เสียม คราด ตลอดจนเกวียน เป็นต้น
2. เกย (ชานโล่งมีหลังคาคลุม) เป็นพื้นที่ลดระดับลงมาจากเรือนนอนใหญ่ มักใช้เป็นที่รับแขก ที่รับประทานอาหาร และใช้เป็นที่หลับนอนของลูกชายและแขกเหรื่อที่กลับมาจากงานบุญในตอนค่ำคืนส่วนของใต้ถุนจะเตี้ยกว่าปกติ ซึ่งอาจใช้เป็นที่เก็บฟืนหรือสิ่งของที่ไม่ใหญ่โตนัก
3. เรือนแฝด เป็นเรือนตรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอน ในกรณีที่พื้นทั้งสองหลังเสมอกันโครงสร้างทั้งคานพื้นและขื่อหลังคาจะฝากไว้กับเรือนนอน แต่หากเป็นเรือนแฝดลดพื้นลงมามากกว่าเรือนนอนก็มักเสริมเสาเหล็กมารับคานไว้อีกแถวหนึ่งต่างหาก
4. เรือนโข่ง มีลักษณะเป็นเรือนทรงจั่วเช่นเดียวกับเรือนนอนใหญ่ แตกต่างจากเรือนแฝดตรงที่ โครงสร้างของเรือนโข่ง จะแยกออกจากเรือนนอนโดยสิ้นเชิง สามารถรื้อถอนออกไปปลูกใหม่ได้โดยไม่กระทบกระเทือนต่อเรือนนอน
การต่อเชื่อมของชายคาทั้งสองหลังใช้รางน้ำ โดยใช้ไม้กระดาน 2 แผ่น ต่อกันเป็นรูปตัววีแล้วอุดด้วยชันผสมขี้เลื่อย ในกรณีที่เรือนไม่มีครัวก็สามารถ
ใช้พื้นที่ส่วนเรือนโข่งนี้ทำครัว ชั่วคราวได้
5. เรือนไฟ (เรือนครัว) ส่วนมากจะเป็นเรือน 2 ช่วงเสามีจั่วโปร่งเพื่อระบายควันไฟ ฝานิยมใช้ไม้ไผ่สานลายทแยงหรือลายขัด
6. ชานแดด เป็นบริเวณนอกชานเชื่อมระหว่างเกย เรือนแฝดกับเรือนไฟ มีบันไดขึ้นด้านหน้าเรือน มี “ฮ้างแอ่งน้ำ” (ร้านหม้อน้ำ) อยู่ตรงขอบของชานแดด บางเรือนที่มีบันไดขึ้นลงทางด้านหลังจะมี “ชานมน” ลดระดับลงไปเล็กน้อยโดยอยู่ด้านหน้าของเรือนไฟ เพื่อใช้เป็นที่ล้างภาชนะตั้งโอ่งน้ำและวางกระบะปลูกพืชผักสวนครัวต่าง ๆ
รูปแบบของเรือนไทยอีสาน
รูปแบบของเรือนไทยอีสานสามารถแบ่งได้ตามประเภทของการพักอาศัย เพื่อตอบสนองประโยชน์ใช้สอยในวาระต่าง ๆ กันดังต่อไปนี้
1. ประเภทชั่วคราว หรือใช้เฉพาะฤดูกาล ได้แก่ “เถียงนา” หรือ”เถียงไร่” ส่วนใหญ่จะ ยกพื้นสูง เสาเรือนใช้ไม้จริง ส่วนโครงใช้ไม้ไผ่ หลังคามุงหญ้าหรือแป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนเก่า พื้นเป็นไม้ไผ่สับ ในกรณีที่ไร่นาอยู่ไม่ไกลจากเรือนพักสามารถไปกลับได้ภายในวันเดียวจะไม่นิยมกั้นฝา หากต้องค้างคืนก็มักกั้นฝาด้วย “แถบตอง” คือสานไม้ไผ่เป็นตารางขนาบใบต้นเหียงหรือ ใบต้นพวง ซึ่งจะทนทายอยู่ราว 1-2 ปี
2. ประเภทกึ่งถาวร เป็นเรือนขนาดเล็กที่ไม่มั่นคงแข็งแรงนักชาวอีสานเรียกว่า ”เรือนเหย้า” หรือ “เฮือนย้าว” เป็นการเริ่มต้นชีวิตการครองเรือน และค่อย ๆ เก็บหอมรอมริบไป สู่การมีเรือนถาวรในที่สุด
ผู้ที่จะมี” เรือนเหย้า” นี้จะเป็นเขยของบ้านที่เริ่มแยกตัวออกไปจากเรือนใหญ่( เรือนพ่อแม่)
เพราะในแง่ความเชื่อของชาวอีสาน เรือนหลังเดียวไม่ควรให้ครอบครัวของพี่น้องอยู่ร่วมกันหลายครอบครัวในบ่านหลังหนึ่ง ๆ ควรมีเขยเดียวเท่านั้นหากมีเขยมากกว่าหนึ่งคนมาอยู่ร่วมชายคาเดียวกันถือว่าจะเกิด “ ขะลำ” หรือสิ่งอัปมงคล
เรือนประเภทนี้วัสดุก่อสร้างมักไม่พิถีพิถันนัก อาจเป็นแบบ “ เรือนเครื่องผูก” หรือเป็นแบบผสมของ “เรือนเครื่องสับ” ก็ได้
เรือนประเภทกึ่งถาวรนี้สามารถแบ่งได้เป็น 3 ประเภทคือ
2.1 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด”ตูบต่อเล้า” เป็นเรือนที่อิงเข้ากับตัวเล้าข้าว ซึ่งมีอยู่เกือบทุกครัวเรือนมีลักษณะคล้ายเพิงหมาแหงนทั่วไปด้านสูงจะไปอาศัยโครงสร้างของเล้าข้าวเป็น ตัวยึด ต่อหลังคาลาดต่ำลงไปทางด้านข้างของเล้า แล้วใช้เสาไม้จริงตั้งรับเพียง 2-3 ต้น มุงหลังคาด้วยหญ้าหรือสังกะสี ยกพื้นเตี้ย ๆ กั้นฝาแบบชั่วคราว อาศัยกันไปก่อนสักระยะหนึ่ง พอตั้งตัวได้ก็จะย้ายไปปลูกเรือนใหญ่ถาวรอยู่เอง ตรงส่วนที่เป็น “ตูบต่อเล้า” นี้ก็ทิ้งให้เป็นที่นอนเล่นของพ่อแม่ต่อไป
2
.2 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด “ดั้งต่อดิน” เป็นเรือนพักอาศัยที่แยกตัวออกจากเรือนใหญ่ทำนองเดียวกัน “ตูบต่อเล้า” แต่จะดูเป็นสัดส่วนมากกว่า ขนาดของพื้นที่ค่อนข้างน้อยกว้างไม่เกิน 2 เมตร ยาวไม่เกิน 5 เมตร นิยมทำ 2 ช่วงเสา คำว่า “ดั้งต่อดิน” เป็นคำเรียกของชาวไทยอีสาน ที่หมายถึง ตัวเสาดั้งจะฝังถึงดินและใช้ไม้ท่อนเดียวตลอดสูงขึ้นไปรับอกไก่
วิธีสร้าง “ดั้งต่อดิน” มักใช้ผูกโครงสร้างเหมือนกับเรือนเครื่องผูกตัวเสาและเครื่องบนนิยมใช้ไม้จริงทุบเปลือก หลังคามักมุงด้วยหลังคาทีกรองเป็นตับแล้วเรียกว่า “ไฟหญ้า” หรือใช้แป้นไม้ที่รื้อมาจากเรือนใหญ่
ฝาเรือนมักใช้ฝาแถบตองโดยใช้ใบกุงหรือใบชาดามาประกบกับไม้ไผ่สานโปร่งเป็นตาราง หรือทำเป็นฝาไม้ไผ่สับฟากสานลายขัดหรือลายสองทแยงตามแต่สะดวก ส่วนพื้นนิยมใช้พื้นสับฟากหรือใช้แผ่นกระดานปูรอง โดยใช่ไม้ไผ่ผ่าซีกมามัดขนาบกันแผ่นกระดารขยับ
เลื่อน
2.3 เรือนเหย้ากึ่งถาวรชนิด “ดั้งตั้งคาน” ยังอยู่ในประเภทของเรือนเครื่องผูกมีความแตกต่างจากเรือน”ดั้งต่อดิน” ตรงที่เสาดั้งต้นกลางจะลงมาพักบนคานของด้านสกัดไม่ต่อลงไป ถึงดิน ส่วนการใช้วัสดุมุงหลังคา ฝาและพื้นเรือนจะใช้เช่นเดียวกับเรือนประเภท “ดั้งต่อดิน”
3. ประเภทถาวร ส่วนใหญ่มีลักษณะเป็น “เรือนเครื่องสับ” สังเกตได้จากการเลือกใช้วัสดุ รูปแบบของการก่อสร้างประโยชน์ใช้สอยและความประณีตทางช่าง อาจจำแนกเรือนถาวรได้เป็น 3 ชนิดดังนี้
3
.1 ชนิดเรือนเกย มีลักษณะใต้ถุนสูง หลังคาทรงจั่วเสาใช้ไม้กลม 8 เหลี่ยม หรือเสา 4 เหลี่ยม ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เกย ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ (ร้านหม้อน้ำ)
3.2 ชนิดเรือนแฝด มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยมเช่นเดียวกัน ตัวเรือนประกอบด้วยเรือนใหญ่ เรือนแฝด เกย ชานแดด เรือนไฟ ฮ้างแอ่งน้ำ
3.3 ชนิดเรือนโข่ง มีลักษณะใต้ถุนสูงและใช้เสากลมหรือเสาเหลี่ยม มีจั่วแฝดอยู่ชิดติดกัน ไม่นิยมมีเกย เรือนชนิดนี้ประพกอบด้วย เรือนใหญ่ เรือนโข่ง ชานแดด เรือนไฟ และฮ้างแอ่งน้ำ